บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลขององค์การ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและธรรมาภิบาลของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ธรรมาภิบาลและประสิทธิผลของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และ 3) ศึกษาอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและธรรมาภิบาลที่มีผลต่อประสิทธิผลของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เป็นการวิจัยเชิงพรรณา โดยใช้แบบสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ ผู้รับผิดชอบงานวิชาการ ผู้รับผิดชอบงานบริหารในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในทุกอำเภอในเขตสุขภาพที่ 3 จำนวน 54 อำเภอ รวม 270 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรวัด 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.982 สถิติที่ใช้ประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน One-Sample t-test ด้วยโปรแกรม SPSS for Windows และวิเคราะห์ตรวจสอบความตรงของตัวแบบด้วยโปรแกรม LISREL 8.8
ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับประสิทธิผลขององค์การ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและธรรมาภิบาล มีค่าระหว่าง 3.72 - 4.21 อยู่ในระดับมากทั้งหมดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) ความสัมพันธ์ของตัวแปร ประสิทธิผลขององค์การ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและธรรมาภิบาล มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างรายคู่เท่ากับ 0.745 ถึง 0.819 ในระดับสูงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับธรรมาภิบาลมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลร้อยละ70.90 ของค่าความแปรปรวนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ข้อเสนอแนะคือ การพัฒนาสำนักงานสาธารณสุขอำเภอให้มีประสิทธิผลมากขึ้น ผู้ที่เกี่ยวข้องควรให้ความสนใจในการมุ่งเน้นการพัฒนาผู้ทำหน้าที่สาธารณสุขอำเภอให้มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและมีธรรมาภิบาล รวมถึงกระทรวงสาธารณสุขควรกำหนดแนวทางเชิงนโยบายให้มีการประเมินภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและธรรมาภิบาลในการคัดสรรผู้จะมาทำหน้าที่ดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม
บทคัดย่อ
The purposes of this study were: 1) to study organizational effectiveness, transformational leadership,
and good governance of district health office, 2) to study relationships among transformational
leadership, good governance, and DHO’s effectiveness, and 3) to study impacts of transformational
leadership and good governance on DHO’s effectiveness. This study was a descriptive research by using surveys. The units of analysis were chief district health officers, administrative personnel, academic
personnel, and directors of subdistrict health promoting hospitals from all 54 DHOs in Health Region 3
for a total of 270 samples. The research instrument was a 5-point rating scale questionnaire. The content
reliability was 0.982. The analysis for frequency, average, standard deviation, and one-sample t-test was
done on SPSS for Windows, and the analysis for validity was done on LISREL 8.8.
The results were: 1) The levels of organizational effectiveness, transformational leadership, and
good governance were between 3.72 and 4.21 which were higher than 3.5 in 5-point rating scale (p < 0.01).
2) Organizational effectiveness, transformational leadership, and good governance had high pairwise
correlation coefficients between 0.745 and 0.819 (p < 0.01). 3) Transformational leadership and good
governance together influenced the effectiveness by 70.90 percent of variance (p < 0.01).
Suggestions from this research: To improve DHO’s effectiveness, one should emphasize on the
leadership development for CDHOs so that they have transformational leadership and good governance.
Moreover, Ministry of Public Health should develop a policy guidance for assessing transformational
leadership and good governance in a selection process for the position.