• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

แนวคิดและแนวทางปฏิบัติเพื่อตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเปราะบางในประเทศไทย

บวรศม ลีระพันธ์; Borwornsom Leerapan; ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล; Paibul Suriyawongpaisal; สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์; Samrit Srithamrongsawat; วิชช์ เกษมทรัพย์; Vijj Kasemsup; นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์; Nawanan Theera-ampornpunt; ฉัตรชัย อิ่มอารมย์; Chatchai Im-Arom; รัศมี ตันศิริสิทธิกุล; Rassamee Tansirisithikul; วิชัย เอกพลากร; Wichai Aekplakorn;
วันที่: 2559-12
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อถอดบทเรียนจากโครงการพัฒนาสุขภาพในชุมชนซึ่งตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเปราะบาง สำหรับนำไปสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาระบบสุขภาพสำหรับประชากรกลุ่มเปราะบางในประเทศไทย ระเบียบวิธีศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาการดำเนินโครงการดังกล่าวใน 8 พื้นที่ ได้แก่ อ.อุ้มผาง จ.ตาก, อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น, อ.ด่านซ้าย จ.เลย, อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา, อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์, อ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี, อ.กงหรา จ.พัทลุง และ อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การสัมภาษณ์กลุ่ม และการสังเกตโดยไม่มีส่วนร่วม และสังเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ thematic content analysis ผลการศึกษา : ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้ประเด็นรองทั้งหมด 13 ประเด็น และสรุปได้เป็นประเด็นหลักที่ค้นพบใหม่ทั้งหมด 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ความเข้าใจที่สับสนเกี่ยวกับแนวคิดประชากรกลุ่มเปราะบางทางสุขภาพในบริบทของประเทศไทย 2) โครงการที่มีประสิทธิผลในการตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเปราะบางเกิดจากการริเริ่มของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ 3) ประสิทธิผลของโครงการพัฒนาสุขภาพชุมชนของกลุ่มประชากรเปราะบางขึ้นอยู่กับการออกแบบบริการสุขภาพให้เหมาะสมกับลักษณะความเปราะบาง และ 4) โครงการที่ตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเปราะบางอย่างยั่งยืนเกิดจากภาวะผู้นำของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ การอภิปราย : ประเทศไทยมีการทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเปราะบาง แต่คณะทำงานในแต่ละพื้นที่มีความเข้าใจในการทำงานในเรื่องนี้แตกต่างไปจากวรรณกรรมเรื่องประชากรกลุ่มเปราะบางทางสุขภาพ ผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพควรกำหนดเกณฑ์การจำแนกประชากรกลุ่มเปราะบางด้านสุขภาพในบริบทของไทยให้มีความชัดเจนมากขึ้น และใช้การพิจารณาเป็นเข็มมุ่งในการพัฒนาความเป็นธรรมด้านสุขภาพในระบบสุขภาพของประเทศไทย ทั้งนี้ ควรมีระบบสนับสนุนให้เแต่ละพื้นที่มีความคล่องตัวในการปรับกระบวนการให้เหมาะสมกับบริบท รวมทั้งมีการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบสารสนเทศด้านสุขภาพทั้งในระดับประเทศและในระดับพื้นที่เพื่อใช้ในการพัฒนานโยบายแบบอิงหลักฐาน ตลอดจนมีการติดตามและประเมินผลตามนโยบายอย่างเป็นระบบ

บทคัดย่อ
Objective: To synthesize lessons learned from the existing community-based health interventions for vulnerable populations in Thai contexts in order to create policy recommendations for further health systems development and response to health needs of vulnerable populations. Methods: This study utilized qualitative study design to investigate and compare community-based health interventions for vulnerable populations in eight district health systems (DHS) of Thailand, including Umphang, Ubolratana, Dan Sai, Khon Buri, Kuchinarai, Lam Sonthi, Kong Rha, and Khlong Khlung. Qualitative data were collected from the local practitioners by semi-structured interviews, focus-group interviews, and non-participant observations, and were synthesized by thematic content analysis. Results: Content analysis reveals four emerging themes. First, sense-making of the vulnerable population concept was challenging for practitioners in Thai contexts. Second, effective community interventions for vulnerable populations were initiated by local practitioners, not from policy and planning at the national level. Third, effectiveness of community interventions for vulnerable populations depends on services design being customized to the nature of vulnerability. Lastly, traits of local leadership, not authority, are necessary for creating and implementing sustainable community-based health interventions for vulnerable populations. Discussions: Despite no mutual understanding of the vulnerable population concept in Thai contexts, we found strong evidence of innovative community-based health interventions in Thailand. To scale up such programs, policymakers should create criteria to help practitioners identify vulnerable populations in their contexts, allow for contextualizing health needs of different vulnerable populations, and put more emphasis on developing information systems at both the national and the local level, so there will be more systematic monitoring and evaluation of community-based health interventions for vulnerable populations in Thailand.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri_journal_v10n ...
ขนาด: 269.5Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 1
เดือนนี้: 6
ปีงบประมาณนี้: 126
ปีพุทธศักราชนี้: 56
รวมทั้งหมด: 2,567
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV