• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ความจำเป็นทางสุขภาพที่ไม่ได้รับการตอบสนอง (Unmet health need) กรณีผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยในและบริการทันตกรรม ในประชากรไทย พ.ศ. 2558

เยาวลักษณ์ แหวนวงษ์; Yaowaluk Wanwong; ชาฮีดา วิริยาทร; Shaheda Viriyathorn; ศศิรัตน์ ลัพธิกุลธรรม; Sasirat Lapthikultham; วริศา พานิชเกรียงไกร; Warisa Panichkriangkrai; กัญจนา ติษยาธิคม; Kanjana Tisayaticom; วลัยพร พัชรนฤมล; Walaiporn Patcharanarumol;
วันที่: 2560-06-30
บทคัดย่อ
ประเทศไทยบรรลุระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 ภายใต้ระบบประกันสุขภาพภาครัฐสามระบบหลัก ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นได้มากขึ้น โดยไม่ต้องกังวลเรื่องภาระค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาพยาบาล แต่ก็ยังคงมีความจำเป็นทางสุขภาพที่ไม่ได้รับการตอบสนอง (unmet health need) จึงได้มีการศึกษา unmet health need ซึ่งเป็นการติดตามผลการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในอีกมุมหนึ่ง ที่จะทำให้ได้ทราบสถานการณ์ว่ามีการเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพหรือไม่ มากน้อยอย่างไร และด้วยเหตุผลใด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความชุกของ unmet health need ลักษณะประชากร ปัจจัยที่มีผล และเหตุผลที่ทำให้เกิด unmet health need ทั้งกรณีผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และบริการทันตกรรม โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและแบบจำลองโลจิต วิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2558 มีตัวอย่างทั้งสิ้น 55,920 ครัวเรือนที่เป็นตัวแทนประชากรไทย ผลการศึกษาพบว่า ความชุกของ unmet health need กรณีผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยในและบริการทันตกรรม เท่ากับร้อยละ 1.50, 0.14 และ 0.99 ของประชากรทั้งหมดตามลำดับ ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด unmet health need อย่างมีนัยสำคัญ คือ อายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโอกาสเกิด unmet health need มากกว่าผู้ที่มีอายุน้อยกว่า การไม่มีสิทธิในระบบประกันสุขภาพมีโอกาสเกิด unmet health need มากกว่าผู้ที่มีสิทธิประกันสุขภาพ เศรษฐฐานะครัวเรือนกลุ่มจนที่สุดมีโอกาสเกิด unmet health need มากกว่ากลุ่มที่มีเศรษฐฐานะดีกว่า และผู้ที่อาศัยในกรุงเทพมหานครมีโอกาสเกิด unmet health need กรณีผู้ป่วยนอกมากกว่าผู้ที่อาศัยในภาคอื่นๆ เหตุผลส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิด unmet health need คือ คิวยาว/รอนาน ไม่มีเวลาไปรับการรักษา และเดินทางไม่สะดวก/อยู่ห่างไกล ทั้งกรณีผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยในและบริการทันตกรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องควรเร่งหาแนวทางหรือจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในการดูแลผู้สูงอายุและประชาชนทุกคนให้เข้าถึงระบบบริการสุขภาพที่จำเป็นอย่างยั่งยืน รวมถึงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ในเขตเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตกรุงเทพมหานคร และการจัดให้มีสถานพยาบาลใกล้บ้านใกล้ใจให้ครอบคลุมทุกพื้นที่

บทคัดย่อ
Since 2002, Thailand has achieved Universal Health Coverage (UHC) under the three main public health insurance schemes. UHC enabled Thai population to access essential healthcare services regardless of income. Patient would not be worried about negative financial impacts from medical bills to their household however the unmet health need can be found. Therefore, there is a study on unmet health need conducted in order to monitor UHC on another aspect and to demonstrate whether or not Thailand has patients who cannot access health service when needed, if yes, how many; who are they and why? The objective of this study is to analyze prevalence of unmet health need, to describe profile of patients with unmet health need and to identify factors and reasons for unmet health need. Descriptive statistics and logit model were applied for analysis of Health and Welfare Survey (HWS) in 2015 with 55,920 sampled households representing Thai populations. Prevalence of unmet health need for outpatient, inpatient and dental service were 1.50 percent, 0.14 percent and 0.99 percent of all population, respectively. Main factors of being unmet health need were age, especially elderly; uninsured people; and the poorest household economic group. In addition, people living in Bangkok had more unmet health need for outpatient services than other regions. The main reasons of unmet health need were inadequate time of patient for seeking care, too long queue at health facilities, and too far to travel to health facilities. Ministry of Public Health, National Health Security Office and other relevant agencies should collectively work together for a policy and strategy to reduce unmet health need of Thai population, especially for elderly. Primary health care service delivery system should be strengthened to cover all urban areas in particular in Bangkok. “Close to client health services” should be developed for improving access to health services.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri_journal_v11n ...
ขนาด: 297.2Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 1
เดือนนี้: 6
ปีงบประมาณนี้: 361
ปีพุทธศักราชนี้: 237
รวมทั้งหมด: 2,208
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV