แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การจัดการระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในเขตเมือง กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดบุรีรัมย์

dc.contributor.authorวริศา พานิชเกรียงไกรth_TH
dc.contributor.authorWarisa Panichkriangkraien_US
dc.contributor.authorเอนก มุ่งอ้อมกลางth_TH
dc.contributor.authorAnek Mungaomklangen_US
dc.contributor.authorอังคณา สมนัสทวีชัยth_TH
dc.contributor.authorAngkana Sommanustweechaien_US
dc.contributor.authorเยาวลักษณ์ แหวนวงษ์th_TH
dc.contributor.authorYaowaluk Wanwongen_US
dc.contributor.authorวลัยพร พัชรนฤมลth_TH
dc.contributor.authorWalaiporn Patcharanarumolen_US
dc.contributor.authorวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรth_TH
dc.contributor.authorViroj Tangcharoensathienen_US
dc.date.accessioned2017-06-28T07:36:19Z
dc.date.available2017-06-28T07:36:19Z
dc.date.issued2560-06-30
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 11,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2560) : 221-237th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4735
dc.description.abstractจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดบุรีรัมย์เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ที่มีโรงพยาบาลศูนย์อยู่ในอำเภอเมืองโรงพยาบาลศูนย์นี้ต้องให้บริการทั้งผู้ป่วยในเขตอำเภอเมือง ในเขตจังหวัด และเขตพื้นที่ของจังหวัดอื่นที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้มีภาระมาก ผู้บริหารระดับจังหวัดจึงมีแนวคิดที่มุ่งลดความแออัดในการให้บริการผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลศูนย์ทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อให้สามารถเป็นหน่วยบริการคู่สัญญา (contracting unit for primary care, CUP) กับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ หน่วยบริการคู่สัญญาที่ทำหน้าที่ให้บริการประจำเหล่านี้ มีศักยภาพในการให้บริการแบบผู้ป่วยนอกและการส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ และสามารถบริหารจัดการงบประมาณของพื้นที่รับผิดชอบเองได้ (autonomous CUP) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการการจัดตั้ง autonomous CUP การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล เงิน และการบริการ ผลการดำเนินงานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ และปัจจัยสำคัญในการจัดตั้งautonomous CUP เพื่อเป็นบทเรียนในการพัฒนาการจัดระบบบริการในเขตอำเภอเมืองสำหรับพื้นที่อื่นๆ ต่อไป ผลการศึกษาพบว่า autonomous CUP เป็นการผลักดันนโยบายจากผู้ปฏิบัติงานที่มุ่งหวังการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานและผลักดันให้ผู้บริหารดำเนินการ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นคือ ตำแหน่งที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ แพทย์ รองลงมาคือผู้ช่วยแพทย์แผนไทยและเจ้าหน้าที่สนับสนุน จำนวนประชากรขั้นต่ำต่อพื้นที่ให้บริการ คือ 21,000 ราย จึงจะสามารถบริหารจัดการเงินโดยไม่ขาดทุนได้ ปัจจัยสำคัญในการดำเนินงาน คือ นโยบายที่มุ่งมั่นของผู้บริหารในพื้นที่ที่ต้องมีความเข้าใจและดำเนินนโยบายในทิศทางเดียวกัน และการมีแพทย์เกษียณร่วมให้บริการ ความท้าทายคือ การเพิ่มบทบาทของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) และการใช้ระบบบริการสุขภาพระดับอำเภอ (district health system) เพื่อการติดตามประเมินผล ทั้งนี้ ควรมีผู้รับผิดชอบหลักเพื่อจัดการปัญหาการขาดความเชื่อมโยงของระบบth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิth_TH
dc.titleการจัดการระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในเขตเมือง กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดบุรีรัมย์th_TH
dc.title.alternativePrimary Care Services in Urban Area: Case Study of Nakhon Ratchasima and Burirum provincesen_US
dc.typeArticleth_TH
dcterms.spatialนครราชสีมาth_TH
dcterms.spatialบุรีรัมย์th_TH
dc.description.abstractalternativeHealth service provision in urban area is a key challenge in Thailand as there is only tertiary care hospital and a network of health center provides curative and health prevention services. As a result, primary care services seem to be neglected. Recently, there are interventions to upgrade health health promotion services in Mueang districts of Nakhon Ratchasima and Burirum provinces. Capitation budget for out-patient care is now transferred to CUP instead of provincial hospital. This study aims to explore process in setting up those autonomous CUPs as well as key success factors and remaining challenges in these provinces to be lessons learned for other provinces. We reviewed documents and interviewed key informants who involved in setting up autonomous CUPs or were working in those CUPs. Results showed that main purposes of autonomous CUPs were to reduce crowdedness of provincial hospitals and to improve quality and access of health services at health centers. One major change after the implementation was the increased numbers of staff especially those of medical doctors and supporting staff. Key success factors are consistent with policy direction at provincial and district levels as well as availability of retired medical doctors who were key human resources. The remaining challenges were to increase active role of District Health Coordinating Committee, integrate district health system principle and appoint responsible persons to coordinate health service system within the district.en_US
dc.subject.keywordระบบบริการปฐมภูมิในเขตเมืองth_TH
.custom.citationวริศา พานิชเกรียงไกร, Warisa Panichkriangkrai, เอนก มุ่งอ้อมกลาง, Anek Mungaomklang, อังคณา สมนัสทวีชัย, Angkana Sommanustweechai, เยาวลักษณ์ แหวนวงษ์, Yaowaluk Wanwong, วลัยพร พัชรนฤมล, Walaiporn Patcharanarumol, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร and Viroj Tangcharoensathien. "การจัดการระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิในเขตเมือง กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดบุรีรัมย์." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4735">http://hdl.handle.net/11228/4735</a>.
.custom.total_download3387
.custom.downloaded_today1
.custom.downloaded_this_month42
.custom.downloaded_this_year865
.custom.downloaded_fiscal_year158

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri_journal_v11n ...
ขนาด: 655.6Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย