บทคัดย่อ
กลุ่มโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable diseases: NCDs) เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญและเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพโดยเฉพาะการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และการมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ ดังนั้นผู้ป่วยด้วย NCD นอกจากจะต้องให้ความร่วมมือในการรักษาแล้ว ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ร่วมด้วย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานสถานการณ์การมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพในผู้ป่วยด้วย NCD ในประเทศไทยจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2558 จัดเก็บโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในกลุ่มประชากรไทยที่มีอายุ 15-65 ปี โดยทำการศึกษาข้อมูลผู้ที่รายงานว่าป่วยด้วย NCD 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็งและโรคทางหายใจเรื้อรัง ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วย NCD ใน 4 กลุ่มโรคหลักนี้ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงในการสูบบุหรี่ร้อยละ 10.7 ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 16.8 ดื่มเครื่องดื่มรสหวานร้อยละ 51.3 และมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอร้อยละ 68.8 โดยเพศชายมีการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าเพศหญิง และเพศหญิงมีการดื่มเครื่องดื่มรสหวานและกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอมากกว่าเพศชาย เมื่อพิจารณาลักษณะของผู้ป่วยด้วย NCD ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพแล้ว พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในวัยแรงงานและวัยสูงอายุ ประกอบอาชีพที่ใช้ทักษะต่ำหรือทำงานภาคเกษตรกรรม อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล สำหรับสถานภาพทางเศรษฐกิจ พบว่าผู้ป่วยด้วย NCD มีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพในสัดส่วนใกล้เคียงกันทุกกลุ่ม ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าประชาชนไทยส่วนหนึ่งยังมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพถึงแม้จะเป็นผู้ป่วยด้วย NCD แล้วก็ตาม ดังนั้นในการดูแลผู้ป่วยด้วย NCD ควรสนับสนุนให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
บทคัดย่อ
Non-communicable Diseases (NCDs) are a major public health problem. NCDs can be prevented by reducing risk factors such as smoking, alcohol consumption, sweetened beverage consumption, and inadequate physical activity. For a more effective solution, the ordinary NCDs treatment should be adopted, as well as the preventions of the NCDs risk factors. This study aimed to report the situ¬ation of NCD patients’ risk behaviors in Thailand. The secondary data from the 2015 National Health and Welfare Survey was adopted for analysis on NCD patients aged 15-65 years who had cardiovascu-lar disease, diabetes mellitus, cancer, or chronic respiratory disease. The study showed that risk be¬haviors in smoking (10.7%), alcohol consumption (16.8%), sweetened beverage consumption (51.34%) and inadequate physical activity (68.8%) were still occurring among NCD patients. The evaluation also suggested that while the male group had increased risk behaviors of smoking and alcohol consump¬tion than female group, however the latter had increased risk behavior of sweetened beverage con¬sumption and inadequate physical activity. By considering the socio-economic characteristics of the NCD patients, the study found that the majority of NCD patients consisted of ageing and adult workers in agricultural and low-skill industrial sectors, and those who lived in outer urban area. It was further noted that different economic status was not a significant factor in affecting the NCD risk behaviors. The findings confirmed that Thailand’s NCD patients had high risky health behaviors and health pro-motion activities were highly recommended for reversing these risks.