• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ความรู้ การตีตราและประสบการณ์ของแพทย์และพยาบาลเกี่ยวกับวัณโรคและการสำรวจวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัส

วรรัตน อิ่มสงวน; Worarat Imsanguan; สุรีรัตน์ ท้าวถึง; Sureerat Thawthong; ศุภเลิศ เนตรสุวรรณ; Supalert Nedsuwan; จินตนา งามวิทยาพงศ์-ยาไน; Jintana Ngamvithayapong-Yanai;
วันที่: 2560-12
บทคัดย่อ
ภูมิหลังและเหตุผล: การสำรวจผู้สัมผัสวัณโรค (contact investigation-CI) เป็นมาตรการสำคัญที่ช่วยลดปัญหาวัณโรค แต่การทำ CI ยังมีความครอบคลุมต่ำ เนื่องจากปัจจัยด้านผู้ป่วย การตีตราทางสังคม รวมทั้งความรู้และทัศนคติของแพทย์และพยาบาลที่มีต่อวัณโรคและการทำ CI ระเบียบวิธีศึกษา: ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม ดำเนินการสนทนากลุ่มกับแพทย์และพยาบาลที่เคยป่วยเป็นวัณโรค เพื่อทราบประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับการตีตราทางสังคมและการทำ CI ในฐานะเป็นผู้ป่วย ใช้แบบสอบถามกับแพทย์ 60 คน และพยาบาล 178 คน วัดระดับความรู้เกี่ยวกับวัณโรค การตีตราและการทำ CI ใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา: อัตราการตอบแบบสอบถามเท่ากับ 100% เกือบ 20% ของแพทย์และ 14% ของพยาบาล อยากหลีกเลี่ยงการทำงานกับผู้ป่วยวัณโรคเพราะกลัวติดโรค ปัจจัยที่มีผลต่อการทำ CI ของแพทย์คือ แพทย์หญิงมีการทำ CI มากกว่าแพทย์ชาย 2.07 คะแนน (95%CI 0.21, 3.92) อายุรแพทย์และกุมารแพทย์มีการทำ CI น้อยกว่าแพทย์ประจำบ้าน 3.82 คะแนน (95%CI -6.04, -1.60) และ 0.17 คะแนน (95%CI -2.51, 2.17) สำหรับพยาบาล ระยะเวลาทำงานเพิ่มขึ้น 1 ปี จะทำ CI เพิ่มขึ้น 0.09 คะแนน (95%CI 0.01, 0.17) พยาบาลที่ได้รับการอบรมเรื่องวัณโรค ทำ CI มากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับการอบรม 2.52 คะแนน (95%CI 0.99, 4.05) แพทย์และพยาบาลที่ป่วยเป็นวัณโรคทุกคนมีการนำคนในบ้านมารับการตรวจวัณโรค มีส่วนน้อยที่รู้สึกรุนแรงถึงการตีตราวัณโรคในขณะที่ตนเองป่วย วิจารณ์: พยาบาลควรได้รับการอบรมเรื่องวัณโรคเพิ่มขึ้น ควรเข้มงวดเรื่องการตรวจคัดกรองวัณโรคประจำปีในกลุ่มแพทย์และพยาบาล หากแพทย์หรือพยาบาลป่วยเป็นวัณโรค ควรพิจารณาสำรวจผู้สัมผัสโรคที่เป็นผู้ร่วมงานและเป็นผู้ป่วย

บทคัดย่อ
Background: Contact investigation (CI) reduces tuberculosis (TB) burden. Yet, implementing CI is still low. One of CI Barriers is health workers’ knowledge and attitude about TB. Design/Methods: Mixed-methods. A focus group discussion with doctors and nurses who had TB was conducted. A self-administered questionnaire was distributed to 60 doctors and 178 nurses. The questionnaire measured TB knowledge, stigma and CI practice. A stepwise multiple regression analysis was employed. Results: Response rate was 100%. Almost 20% of doctors and about 14% of nurses prefer a job without exposure to TB patients. Female doctors practiced CI 2.07 scores more than male doctors (95%CI 0.21, 3.92). The internists and the pediatricians had less CI scores than the resident doctors, respectively, 3.82 scores (95%CI -6.04, -1.60) and 0.17 scores (95%CI -2.51, 2.17). For nurses, an additional one year working experience increased 0.09 CI scores (95%CI 0.01, 0.17). Nurses obtaining TB training had 2.52 CI scores more than nurses without training (95%CI 0.99, 4.05). All household contacts of doctors and nurses having TB received TB screening. But contacts at the workplace (colleagues and patients) were not systematically investigated. Conclusions: TB training may increase CI practice in nurses. Annual health check for doctors and nurses should be reinforced. When doctors and nurses have TB, their contacts in the workplaces (co-workers and patients) should receive CI.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri_journal_v11n ...
ขนาด: 264.8Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 25
ปีงบประมาณนี้: 374
ปีพุทธศักราชนี้: 232
รวมทั้งหมด: 4,279
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • การพัฒนาระบบวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์การระบาดของวัณโรคดื้อยาในชุมชน โดยการศึกษาปัจจัยด้านพันธุกรรมของเชื้อวัณโรคดื้อยา ปัจจัยเจ้าบ้านที่สัมพันธ์กับอัตราการติดเชื้อวัณโรคดื้อยาทั้งจากตัวผู้ป่วยและผู้สัมผัสผู้ป่วย กระบวนการแพร่ระบาด และกระบวนการรักษาในพื้นที่ระบาดของประเทศไทย 

    หัชชา ศรีปลั่ง; Hutcha Sriplung; ณัฏฐกัญจน์ ทิพย์เครือ; Natthakan Thipkrua; สมาน ฟูตระกูล; Samarn futrakul; อิทธิพล จรัสโอฬาร; Itthipol Jarusoran; ก่อพงษ์ ทศพรพงศ์; Koapong Tossapornpong; ผลิน กมลวัทน์; Phalin Kamolwat; ไกรฤกษ์ สุธรรม; Krairurk Sutham; กันยา เอกอัศดร; Kunya Eak-usadorn; กรุณา สุขเกษม; Karuna Sukasem; ณัฐพร ไชยประดิฐกุล; Nathaporn Chaipraditkul; สายใจ สมิทธิการ; Saijai Smitthikarn; จันทิรา สุขะสิฐษ์วณิชกุล; Junthira Sukasitwanitchakul; ณฐกร จันทนะ; Nathakorn Juntana; อารียา ดิษรัฐกิจ; Areeya Ditrathakit; อุษณีย์ อึ้งเจริญ; Usanee Ungcharern (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2564)
    การศึกษาปัจจัยด้านพันธุกรรมของเชื้อวัณโรคดื้อยา ปัจจัยเจ้าบ้านที่สัมพันธ์กับอัตราการติดเชื้อวัณโรคดื้อยาทั้งจากตัวผู้ป่วยและผู้สัมผัสผู้ป่วย กระบวนการแพร่ระบาดและกระบวนการรักษา เป็นการวิจัยแบบตัดขวาง (Crossectional study) ...
  • การค้นหาสารต้านวัณโรคตัวใหม่ที่มีความจำเพาะสูงในการออกฤทธิ์ยับยั้งการติดเชื้อวัณโรคที่มีการดื้อยา 

    พรพรรณ พึ่งโพธิ์; Pornpan Pungpo; สุภา หารหนองบัว; Supa Hannongbua; อรดี พันธ์กว้าง; Auradee Punkvang; พฤทธิ์ คำศรี; Pharit Kamsri; ประสาท กิตตะคุปต์; Prasat Kittakoop; พจนีย์ ศรีมาโนชญ์; Potjanee Srimanote; ชมภูนุช ส่งสิริฤทธิกุล; Chomphunuch Songsiriritthigul; คมสันต์ สุทธิสินทอง; Khomson Suttisintong (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2562-06)
    วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ในงานวิจัยนี้มุ่งเน้นการออกแบบและค้นหาสารต้านวัณโรคตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งวัณโรคดื้อยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลน โดยใช้ระเบียบวิธีการจำลองแบบแล ...
  • การศึกษาความชุกของวัณโรคแฝงและการให้ยาไอโซไนอะซิดเพื่อป้องกันการเกิดวัณโรคในเรือนจำของประเทศไทย (ปีที่ 1) 

    กมล แก้วกิติณรงค์; Kamon Kawkitinarong; ศิวะพร เกตุจุมพล; Sivaporn Gatechompol; อัญชลี อวิหิงสานนท์; Anchalee Avihingsanon; กำพล สุวรรณพิมลกุล; Gompol Suwanpimolkul; วีระกิตติ์ หาญปริพรรณ์; Weerakit Hanparipan (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2562-11)
    วัณโรค (TB) ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลกและประเทศไทยยังคงติดอับดับหนึ่งในสิบสี่ประเทศที่มีอุบัติการณ์การเกิดวัณโรคสูงสุดซึ่งรายงานโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งประกอบไปด้วยปัญหาวัณโรคทั่วไป, วัณโรคดื้อยาหลายสาย ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [159]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1283]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV