บทคัดย่อ
ภารกิจหลักข้อหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คือ การผลิตบัณฑิตแพทย์ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ซึ่งรับนักเรียนที่มีภูมิลำเนาใน 5 จังหวัดของเขตสุขภาพที่ 2 จำนวน 145 คนต่อปี เมื่อสำเร็จการศึกษาจะกลับไปปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดภูมิลำเนา ทีมวิจัยจึงสนใจศึกษาเกี่ยวกับความคาดหวังของผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนในเขตสุขภาพที่ 2 ต่อหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เพื่อนำข้อมูลไปพัฒนาหลักสูตรให้ครอบคลุมกับความต้องการอย่างแท้จริง วิธีการศึกษา: เป็นแบบ cross-sectional descriptive study โดยใช้แบบสอบถามถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนในเขตสุขภาพที่ 2 ผลการศึกษา: จากความคาดหวังของผู้เข้าร่วมวิจัยพบว่า หัวข้อสอน 5 อันดับแรกที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน ได้แก่ ทักษะของผู้นำและการทำงานเป็นทีม การเสริมพลังผู้ป่วย การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค การดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ความปลอดภัยของผู้ป่วย ตามลำดับ และรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่มีประโยชน์มากที่สุด คือ problem-based learning (PBL) นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมวิจัยเห็นว่าบัณฑิตแพทย์ไม่มีความรู้ความสามารถด้านระบบสุขภาพชุมชน สรุปผล: ควรมีการจัดการเรียนการสอนโดยมีหัวข้อสอนข้างต้นและมีการเรียนการสอนในรูปแบบ PBL และหัวข้อสอนที่เป็นประโยชน์ในการทำงานในโรงพยาบาลชุมชนคือหัวข้อภายใต้องค์ประกอบใน WHO 6 building blocks of a health system ด้วยเหตุนี้ ในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตควรมี health system sciences นอกเหนือจาก basic sciences และ clinical sciences เพื่อให้สามารถผลิตบัณฑิตได้ตรงตามความต้องการของสังคม
บทคัดย่อ
One of the missions of the Faculty of Medicine, Naresuan University is to produce medical graduates to serve the Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctor (CPIRD). The project recruits 145 students who reside in any of the 5 provinces in Health Region 2 annually. After graduation, the medical graduates are deployed to work at rural hospitals of the five provinces. The Faculty of Medicine aims to apply outcome-based curriculum to develop the graduate’s attributes according to the expectations of all stakeholders particularly of the community hospital directors. Thus, the present study was carried out to find the expectations of the community hospital directors in Health Region 2 to provide the basis for developing a medical curriculum satisfying community needs. Method: A cross-sectional descriptive survey was done using a structured and validated questionnaire to all community hospital directors in Health Region 2. Results: Based on the expectations of the respondents, leadership skill and teamwork, patient empowerment, health promotion and disease prevention, patient-centered care, and patient safety were regarded as the top five instructional topics significant to medical practice in community hospitals. Problem-based learning (PBL) was cited as the most beneficial learning approach. On the contrary, the respondents indicated that the medical graduates did not have adequate knowledge on the community health system. Conclusion: The above specified instruction topics and PBL should be incorporated into the learning experience. Moreover, instruction topics related to the WHO 6 building blocks of a health system are useful for practicing at community hospital. As a result, there should be the health system sciences in the medical curriculum aside from basic and clinical sciences in order to produce graduates conforming to the needs of society.