• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การพัฒนารูปแบบบริการปฐมภูมิสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยใช้นวัตกรรมเครือข่ายผู้ช่วยเหลือผู้ป่วยที่บ้าน

ราม รังสินธุ์; Ram Rangsin; มฑิรุทธ มุ่งถิ่น; Mathirut Mungthin; ปนัดดา หัตถโชติ; Panudda Hatthachote; บุญทรัพย์ ศักดิ์บุญญารัตน์; Boonsub Sakboonyarat; ยุภาพร ศรีจันทร์; Yupaporn Srichan;
วันที่: 2563-04
บทคัดย่อ
ในบริบทของสังคมประเทศไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเต็มรูปแบบและรอบด้าน เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งผู้วิจัยคิดว่าการมีกลุ่มช่วยเหลือผู้ป่วยที่ผ่านการคัดเลือกและเสริมสมรรถนะ ซึ่งจะได้รับคัดเลือกมาจากประชาชนในชุมชนที่มีศักยภาพที่สามารถพัฒนาได้ การให้บริการรูปแบบดังกล่าวยังไม่ได้มีการดำเนินการและผลลัพธ์ที่ชัดเจน ผู้วิจัยจึงคิดว่าการศึกษาพัฒนารูปแบบการเชื่อมโยงบริการผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ต้องการผู้ดูแลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในพื้นที่หน่วยบริการปฐมภูมิ (Primary Care Units) จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและทำให้ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ โดยวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางสุขภาพและคุณภาพชีวิตก่อนและหลัง และเพื่อพัฒนารูปแบบกำลังคน (Non-Formal Health Sector) เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่บ้าน งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบการวิจัยทดลอง (Clinical Trial) ในกลุ่มประชากรผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases) ที่ต้องการการดูแลในพื้นที่เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิเขตเมือง (Primary Care Units) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเลือกตัวอย่างประชากรกลุ่มเป้าหมายมาเข้าร่วมโครงการ เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตและผลลัพธ์สุขภาพก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ รวมทั้งเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตและผลลัพธ์สุขภาพกับกลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ ผลการศึกษาพบว่า มีอาสาสมัครผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเข้าร่วมโครงการ รวมทั้งสิ้น 99 คน โดยเป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 46 คน และกลุ่มทดลอง (ที่ได้รับการดูแลจาก WinCare) 53 คน โดยข้อมูลพื้นฐานของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน สำหรับอาสาสมัครผู้ดูแลผู้ป่วย หรือ WinCare นั้นมีจำนวน 26 คน ผลลัพธ์ทางสุขภาพระหว่างผู้ป่วยกลุ่มควบคุมและผู้ป่วยกลุ่มทดลอง เมื่อครบ 6 เดือน พบว่า กลุ่มควบคุมจำนวน 41 คน และกลุ่มทดลอง (ที่ได้รับการดูแลจาก WinCare) 46 คน ระดับค่าความดันโลหิตค่าล่างเฉลี่ย ค่าคะแนนอรรถประโยชน์ Utility (EQ-5D-5L) เฉลี่ย ค่าสภาวะทางสุขภาพเฉลี่ย (Health Status) โดย Visual Analog Scale ของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการศึกษา เครือข่ายผู้ช่วยเหลือผู้ป่วยที่บ้าน WinCare คือบริการที่จะเข้ามาเสริมพลังของระบบสาธารณสุขของประเทศไทยในอนาคตให้สามารถรองรับกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่บ้านภายใต้ขีดจำกัดของทรัพยากรด้านกำลังคนในระบบสาธารณสุขในปัจจุบัน โดยผู้ให้บริการ WinCare คืออาสาสมัครผู้ผ่านการฝึกอบรมที่มีศักยภาพในการเคลื่อนที่เข้าถึงจากการมียานพาหนะเป็นของตนเองเข้าไปให้บริการที่นอกเหนือไปจากการบริการทางการแพทย์ให้แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูงในชุมชนสามารถเรียกใช้บริการได้

บทคัดย่อ
Background At present, there are an increase in the proportion of Thai elderly people who are patients with non-communicable diseases (NCDs) including diabetes and hypertension. The patients need holistic care within medical care and non-medical care in order to improve their quality of life. An investigator conducted the model development of primary care services for non-communicable disease patients using an innovative network of homecare providers. The study aimed to determine the quality of life outcome of NCDs patients who received WinCare, and to improve a non-formal health sector for NCDs patients. Methods A non-randomized trial was conducted in 2019-2020. NCDs patients were enrolled to the present study. The participants were divided into 2 groups including (1) Control group and (2) Intervention group (received non-medical care from WinCare). Baseline characteristics comprised of demographic data, blood pressure (BP), body mass index (BMI), and quality of life out come were obtained from face-to-face interview. The intervention group had been received WinCare for 6 months. The quality of life outcome, BMI, and BP were access at month 1, 3 and 6. Results A total of 99 NCDs patients were enrolled in the present study. There were 53 NCDs patients in the intervention group. After 6 months, compared to the quality of life (QOL) outcome of NCDS patients in the control group, the QOL outcome of those in the intervention group was relatively high. Conclusion WinCare are the volunteers who well trained and have a potential for provided non-medical care in the community. An innovative network of homecare providers will enhance the public health system to support the activities of NCDs patients at their home.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2576.pdf
ขนาด: 7.003Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

แจ้งปัญหาการดาวน์โหลด | คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 3
ปีงบประมาณนี้: 26
ปีพุทธศักราชนี้: 8
รวมทั้งหมด: 232
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2186]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • ระบบบริการสุขภาพในภาวะฉุกเฉินในประเทศพัฒนา 

    อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์; Adisak Plitponkarnpim; กิ่งแก้ว อุดมชัยกุล; จิราวรรณ กล่อมเมฆ (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2544)
    ระบบบริการสุขภาพในภาวะฉุกเฉินในประเทศที่พัฒนาแล้ว มักมีจุดเริ่มต้นจากความพยายามที่ต้องการลดการสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน จากนั้นการพัฒนาได้ขยายการครอบคลุมไปจนถึงการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่อยู่ภาวะฉุกเฉิน ...
  • ภาวะที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลในประเทศไทย (โครงการนำร่อง) 

    ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์; Pataphong Ketsomboon; ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย; วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์; Supasit Panarunothai; Weerasak Jongsuwiwanwong (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2546)
    ภาวะที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่สร้างความสูญเสียให้แก่ทั้งผู้ป่วย ญาติ ผู้ให้บริการและระบบบริการสุขภาพของประเทศ เป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่บางครั้งอาจจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ...
  • การสังเคราะห์บทบาท และโครงสร้างของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิในบริบทของ วิชาชีพ และลักษณะของสถานบริการสุขภาพ : กรณีศึกษา ร้านส่งเสริมเภสัช 

    วราวุธ เสริมสินสิริ; Warawut Sermsinsiri (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2545)
    ร้านส่งเสริมเภสัช ตั้งอยู่เลขที่ 255/47 ถนนพหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บริเวณตลาดสดสี่มุมเมือง มีผู้คนสัญจรไปมาคับคั่ง ร้านส่งเสริมเภสัชเป็นร้านขายยาเอกชน เจ้าของรายเดียว เวลาทำการ 7.30 - 20.00 ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น | แจ้งปัญหาการใช้งาน
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [528]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [86]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [272]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [89]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [129]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1095]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [207]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [19]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น | แจ้งปัญหาการใช้งาน
Theme by 
Atmire NV