บทคัดย่อ
การศึกษานี้จัดทำขึ้นเพื่อวิเคราะห์มูลค่าความยินดีจ่ายสำหรับบริการการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยินดีจ่าย กลุ่มตัวอย่างของการศึกษา คือ ประชากรอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในตำบลสะอาดและตำบลหนองกุง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 420 คน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 57.6 ปี ร้อยละ 71.0 เป็นผู้หญิง ร้อยละ 75.2 มีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มากกว่าครึ่งอยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน มากกว่าครึ่งมีโรคประจำตัว และร้อยละ 63.1 ไม่เคยดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และปัญหาในการใช้ชีวิต 3 อันดับแรก ได้แก่ ร้อยละ 9.8 มีปัญหาในการเคลื่อนไหว ร้อยละ 8.3 มีอาการเจ็บป่วยหรือไม่สบายตัว ร้อยละ 6.9 มีความวิตกกังวล/ความซึมเศร้า มากกว่าร้อยละ 90 มีความสนใจเข้าร่วมโครงการการดูแลฯ และมากกว่าร้อยละ 90 มีความยินดีจ่ายโดยมูลค่าความยินดีจ่ายเฉลี่ยเท่ากับ 373.77 บาท (SD=286.01) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยินดีจ่ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ อายุ รายได้ครัวเรือน การสูบบุหรี่ คุณภาพชีวิต การมีปัญหาในการดูแลตนเอง ความวิตกกังวลหรือความซึมเศร้า ความสนใจเข้าร่วมโครงการ และราคาค่าบริการเริ่มต้น สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับมูลค่าความยินดีจ่ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ รายได้ครัวเรือน ขนาดครัวเรือน ระยะเวลาการดูแลผู้สูงอายุ การมีปัญหาในการดูแลตนเอง และราคาค่าบริการเริ่มต้น การศึกษาเรื่องความยินดีจ่ายสำหรับบริการการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในประเทศไทยยังมีค่อนข้างน้อย การจัดบริการของพื้นที่นี้ถือเป็นกรณีศึกษาสำหรับพื้นที่อื่นที่มีบริบทและรูปแบบกิจกรรมใกล้เคียงกันได้
บทคัดย่อ
This study aimed to estimate the value of willingness-to-pay (WTP) for elderly care and study the
impact of factors on willingness-to-pay for the elderly care. A total of samples in this study were 420
people aged 18 years and older, living in Sa-Ad and Nongkung subdistricts, Namphong district, Khon Kaen
province. The study found that mean age of the samples was 57.6 years, 71.0% were females, 75.2%
had primary school education or lower, more than a half lived with a monthly household income of
<10,000 baht, more than a half reported having health problems, and 63.1% never provided care to
dependent elderly. The three major problems related daily activities reported were: 9.8% having difficulty
of physical movement, 8.3% feeling sick, and 6.9% having stress/depression. More than 90% of
respondents were willing to join and pay for the elderly care program. The mean value of willingness-to-pay
for the elderly care was 373.77 baht (SD=286.01). This study found that willingness-to-pay was significantly
associated with age, household income, smoking behavior, quality of life, selfcare problem, anxiety/
depression, willingness-to-join the care program and starting price (p < 0.05). The study also found
that WTP value was associated with household income, size of household, years of providing elderly
care, selfcare problem and starting price (p < 0.05). As willingness-to-pay for elderly care studies are still
limited in Thailand, findings of the present study could be good lessons for other areas or settings.