• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การทบทวนและจัดทำข้อเสนอโครงสร้างสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป

รพีสุภา หวังเจริญรุ่ง; Rapeesupa Wangcharoenrung; สุทธิ สืบศิริวิริยะกุล; Sutthi Suebsiriviriyakul; ฉัตรวลี เมธาสถิตย์สุข; Chatwalee Maethastidsook; กษมา ปัดทุม; Kasama Patthum; ธนวรรธน์ จาดศรี; Thanawat Chatsri;
วันที่: 2566-07
บทคัดย่อ
จากกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560 กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวง มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนายุทธศาสตร์และแปลงนโยบายของกระทรวงเป็นแผนปฏิบัติราชการ ตลอดจนจัดสรรทรัพยากรและบริหารราชการประจำทั่วไปของกระทรวง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและเกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของกระทรวง ซึ่งครอบคลุมการบริหารจัดการ ถ่ายทอดการขับเคลื่อนนโยบายสู่บุคลากร ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) มีหน่วยงานขับเคลื่อนแบ่งเป็น ราชการบริหารส่วนกลาง จำนวน 16 หน่วยงาน ราชการบริหารส่วนภูมิภาค จำนวน 2 หน่วยงาน และหน่วยงานจัดตั้งภายใน จำนวน 17 หน่วยงาน อย่างไรก็ตาม จากการเปลี่ยนแปลงบริบทของเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและประเด็นเชิงนโยบายต่างๆ ส่งผลกระทบต่อโครงสร้าง สป.สธ. ในปัจจุบัน ซึ่งบางส่วนอาจมีความคล้ายคลึงกับบทบาทของหน่วยงานที่มีการแบ่งส่วนราชการที่มีอยู่เดิม หรืออาจมีความไม่ชัดเจน ขณะที่ในบางส่วนเปลี่ยนแปลงไปตามนโยบาย ทำให้การทำงานของบางหน่วยงานจัดตั้งภายในบางส่วนอาจมีความไม่สอดคล้องกับที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์บทบาทและโครงสร้างหน่วยงานภายในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นำไปสู่ข้อเสนอโครงสร้างสำนักงานปลัดฯ โดยแบ่งเป็น ราชการส่วนกลางขึ้นตรงกับปลัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 4 หน่วยงาน ราชการส่วนกลาง จำนวน 15 หน่วยงาน ราชการส่วนกลางตั้งในภูมิภาค จำนวน 1 หน่วยงาน ราชการส่วนภูมิภาค จำนวน 2 หน่วยงาน ที่เป็นหน่วยงานจัดตั้งภายใน จำนวน 5 หน่วยงาน ข้อเสนอให้แยกเป็นหน่วยงานอิสระ จำนวน 1 หน่วยงาน และยุบหน่วยงาน จำนวน 1 หน่วยงาน นอกจากนี้ เสนอให้มีการวิเคราะห์บริบทและบทบาทของหน่วยงานภายใต้โครงสร้างสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขอย่างสม่ำเสมอ เช่น ทุก 5 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปและหน่วยงานต่างๆ สามารถตอบสนองต่อบทบาทภารกิจตามบริบทในช่วงเวลานั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดให้มีการประเมินหน่วยงานจัดตั้งเป็นการภายในทุกปี เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการดำเนินงานตามบริบทของสำนักงานปลัดฯ

บทคัดย่อ
From the Ministerial Regulations on Government Divisions in the Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health 2017 stipulates that the Office of the Permanent Secretary Has a mission regarding strategic development and transforming the Ministry's policies into government action plans, as well as allocating resources and administering the ministry's general affairs. In order to achieve the goals and achieve the missions of the Ministry which covers management transfer the policy drive to personnel both in the central and provincial areas. By the Office of the Permanent Secretary, there are driving agencies divided into 16 centrals administration agencies, 2 provincial administration agencies, and 17 internal agencies. However, from changes in the context of the economy, society, environment, and various policy issues affecting the structure of the Permanent Office at present. Some of which may be similar to the roles of existing divisions of government or there may be unclear while some parts have changed according to policy causing the work of some agencies to be established within some parts may be inconsistent with what is being done at present In this regard, the results of the analysis of the roles and structure of internal agencies under the Permanent Office led to the proposed structure, which was divided into 4 central administration agencies directly under the Ministry of Public Health, 15 central administration agencies, 1 central administration agencies located in the region, 2 provincial administration agencies, and 5 internal agencies. It is proposed to divide into 1 independent agency and dissolve 1 agency. In addition, it is proposed to analyze the context and roles of agencies under the structure of the Permanent Secretary on a regular basis, such as every 5 years in order to be consistent with changing contexts, including requiring that the establishment be assessed internally every year.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs3010.pdf
ขนาด: 24.65Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 0
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 22
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย

ชิ้นงานที่เกี่ยวข้อง

แสดงชิ้นที่เกี่ยวข้องโดย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ผู้สร้าง และหัวเรื่อง

  • สถานการณ์และการถอดบทเรียนต้นแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิยุคสามหมอ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 

    เพ็ญนภา ศรีหริ่ง; Pennapa Sriring; เตือนใจ ภูสระแก้ว; Thuanjai Poosakaew; ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง; Chaweewan Sridawruang; พิทยา ศรีเมือง; Phitthaya Srimuang; รุจิราลักขณ์ พรหมเมือง; Ruchiralak Prommueang; ไพฑูรย์ พรหมเทศ; Paitoon Promthet; รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง; Ratdawan Klungklang; ปณิตา ครองยุทธ; Panita Krongyuth; รุจี จารุภาชน์; Rujee Charupash (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-11-30)
    การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ประเมินสถานการณ์การจัดบริการสุขภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย 2) ถอดบทเรียนตัวอย่างหน่วยบริการปฐมภูมิที่ดี จุดเด่น ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหา และอุปสรรคของหน่ว ...
  • การสังเคราะห์ทางเลือกและข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 

    ภูดิท เตชาติวัฒน์; Phudit Tejativaddhana; ธันวดี สุขสาโรจน์; Thunwadee Suksaroj; ชีระวิทย์ รัตนพันธ์; Cheerawit Rattanapan; อรพินท์ เล่าซี้; Orapin Laosee; วิชช์ เกษมทรัพย์; Vijj Kasemsup; อรุณศรี มงคลชาติ; Aroonsri Mongkolchati; สมศักดิ์ วงศาวาส; Somsak Wongsawass; ภานุวัฒน์ ปานเกตุ; Panuwat Panket; ชวินทร์ ศิรินาค; Chawin Sirinak; ชาติชาย สุวรรณนิตย์; Chatchay Suvannit; สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ; Somboon Sirisunhirun; ศักดา อาจองค์ วัลลิภากร; Sakda Arj-Ong Vallibhakara (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2565-04-28)
    การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)/อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายพัฒนาที่ยั่งยืน ...
  • ความท้าทายและข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารกำลังคนด้านสุขภาพ เพื่อรับมือการระบาดใหญ่ในหน่วยบริการปฐมภูมิในบริบทการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปองค์การบริหารส่วนจังหวัด 

    กุลวดี อภิชาติบุตร; Kulwadee Abhicharttibutra; อรอนงค์ วิชัยคำ; Orn-Anong Wichaikhum; อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์; Apiradee Nantsupawat; เกศราภรณ์ อุดกันทา; Kedsaraporn Udkunta (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2567-01)
    การระบาดเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันก่อให้เกิดความตึงเครียดต่อการบริการทางสุขภาพ กำลังคนด้านสุขภาพจึงเป็นบุคลากรสุขภาพด่านหน้าที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการตอบสนองต่อสถานการณ์การระบาด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สถ ...

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV