บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนประสบการณ์ของผู้ให้บริการคลินิกทันตกรรมเอกชนในกรุงเทพมหานคร ในการบริหารจัดการคลินิกในช่วงวิกฤติการระบาดของไวรัสโควิด-19 และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว การศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเลือกคลินิกทันตกรรมเอกชน 19 แห่งแบบเจาะจงเพื่อทำการสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยแบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) การศึกษาพบว่า คลินิกทันตกรรมพบกับความท้าทายในการจัดการผู้ป่วยเนื่องจากแนวปฏิบัติที่หลากหลาย ในช่วงวิกฤติการระบาด การตรวจหาไวรัสโควิด-19 เป็นสิ่งที่จำเป็นก่อนให้การรักษาทันตกรรม ในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของคลินิกและการปฏิบัติงานข้างเก้าอี้ คลินิกเน้นลดการกระจายของละอองฝอยโดยการปรับปรุงระบบระบายอากาศ เครื่องปรับอากาศ และการใช้เครื่องกรองอากาศ HEPA (high efficiency particulate air) และเครื่องดูดละอองฝอยภายนอก (extraoral suction: EOS) มีการใช้มาตรการป้องกันส่วนบุคคล เช่น การสวมเสื้อคลุมกันน้ำและหน้ากากป้องกันละอองฝอย ทั้งใส่หน้ากากผ่าตัดสองชั้น หน้ากาก N95 หรือการใส่หน้ากากทั้งสองชนิดพร้อมกัน การศึกษายังพบว่าเจ้าของคลินิกส่วนหนึ่งรู้สึกว่าแนวปฏิบัติมีความล้นเกิน (excessive) หรือไม่สามารถปฏิบัติตามได้ โดยเฉพาะในเรื่องของระบบระบายอากาศ กลุ่มตัวอย่างเสนอว่าควรมีคำแนะนำที่ชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้จริง รวมถึงมีการสนับสนุนที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมมาตรฐานคลินิกทันตกรรม เพื่อเพิ่มประโยชน์สูงสุดสำหรับสาธารณะและวิชาชีพทันตกรรมในอนาคต โดยรวมแล้วการศึกษาเน้นความสำคัญของมาตรการความปลอดภัยของคลินิกทันตกรรมในช่วงวิกฤติการระบาดของโควิด-19 และความจำเป็นของการสนับสนุน และการควบคุม เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยของสาธารณชนและการให้บริการทันตกรรมต่อไป
บทคัดย่อ
This study aimed to describe the experiences of private dental clinic providers in Bangkok managing their clinics during the COVID-19 crisis and to propose suggestions. A qualitative study was conducted. Nineteen private dental clinics were purposive recruited through snowball sampling to get various characteristics of clinic and were in-depth interviewed with semi-structured questionnaire. Content analysis was used to analyze the data. The study found that all dental clinics faced challenges in patient management due to various regulations, such as, COVID-19 screening was required before providing dental care, clinic environment and chair-side practices should reduce aerosol particles by improving ventilation system, air conditioning with HEPA (high efficiency particulate air) filters and extraoral suction (EOS). Personal protective measures such as isolation gowns, face masks especially double surgical masks, N95 respirators, or combinations of both, were emphasized. The study also revealed that some clinic owners felt the regulations were excessive or impractical, especially the ventilation systems. It was suggested that clear and feasible guidelines, with appropriate support to comply with strict dental clinic standards were needed to maximize benefits to the public and dental professionals. Overall, the study highlighted the importance of dental clinic safety measures during the COVID-19 crisis and the need for ongoing support and regulation to ensure public safety and the continuation of dental services.