แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

แพลตฟอร์มกลางสำหรับการสร้างเครื่องมือช่วยเหลือทางจิตใจ เพื่อยกระดับการให้บริการสุขภาพจิตด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์โต้ตอบอัตโนมัติในประเทศไทยด้วยปัญญาประดิษฐ์

dc.contributor.authorกลกรณ์ วงศ์ภาติกะเสรีth_TH
dc.contributor.authorKonlakorn Wongpatikasereeth_TH
dc.contributor.authorพณิดา โยมะบุตรth_TH
dc.contributor.authorPanida Yomabootth_TH
dc.contributor.authorนริศ หนูหอมth_TH
dc.contributor.authorNarit Hnoohomth_TH
dc.date.accessioned2024-08-08T03:41:33Z
dc.date.available2024-08-08T03:41:33Z
dc.date.issued2567-07
dc.identifier.otherhs3126
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/6138
dc.description.abstractแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ด้านสุขภาพจิตมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการให้บริการด้านสุขภาพจิตด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น การเข้าถึงง่าย การปิดบังตัวตนและความเป็นส่วนตัว การลดการตีตรา ลดภาระงานของบุคลากรด้านสุขภาพจิต เป็นเครื่องมือให้การช่วยเหลือในระยะเริ่มแรก สามารถให้การดูแลด้านสุขภาพจิตได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นเครื่องมือให้แนวทางดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต สนับสนุนการทำงานของบุคลากรด้านสุขภาพจิตในแง่ของการบำบัดรักษา เป็นแหล่งให้ข้อมูล รวมถึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า และสามารถต่อยอดได้อย่างกว้างขวาง แม้ว่าการพัฒนาแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ด้านสุขภาพจิตจะมีประโยชน์ แต่ในการพัฒนาแชทบอทดังกล่าวก็มีความยาก และมีข้อจำกัดทั้งในเรื่องของความเชี่ยวชาญและเรื่องของเทคโนโลยี ในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้มีหน่วยงานด้านสุขภาพจิตต่าง ๆ พยายามพัฒนาแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ด้านสุขภาพจิตเพื่อให้บริการแก่กลุ่มประชากรและประเด็นปัญหาที่เฉพาะเจาะจง แต่ไม่เพียงแต่ข้อจำกัดที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นเท่านั้น การพัฒนาชั้นปลอดปัญญาประดิษฐ์ด้านสุขภาพจิตยังต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ งบประมาณและใช้ระยะเวลาในการพัฒนาค่อนข้างมาก ซึ่งส่งผลให้ความพยายามในการพัฒนาแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ด้านสุขภาพจิตยังไม่ได้รับความสำเร็จเท่าที่ควร โครงการนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้แพลตฟอร์มกลางสำหรับการสร้างเครื่องมือช่วยเหลือทางจิตใจ เครื่องมือพัฒนาแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ด้านสุขภาพจิต สนับสนุนและช่วยเหลือให้บุคลากรที่ไม่มีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม หรือการเขียนโค้ดให้สามารถพัฒนาแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ได้สำเร็จ ด้วยรูปแบบการใช้งานแบบลากและวางโมเดลปัญญาประดิษฐ์พร้อมใช้สำหรับการวิเคราะห์อารมณ์และหัวข้อการสนทนา หลักสูตรการอบรมและการติดตามผล ทำให้ผลจากการดำเนินโครงการช่วยให้มีแชทบอทที่พัฒนาแล้วเสร็จและเปิดให้ใช้งานแล้วทั้งสิ้น 26 แชทบอท ซึ่งนอกจากในระยะเวลาการดำเนินโครงการ 18 เดือน จะทำให้ได้แชทบอท 26 แชทบอทที่เข้าถึงผู้ใช้งานกว่า 2,000 รายทั่วประเทศแล้ว การพัฒนาแชทบอทยังทำให้เกิดงานวิจัยอีก 6 งานวิจัยที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการ ดังนี้ 1. การศึกษาผลของการใช้งานแชทบอทสำหรับเรียนรู้วิธีการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มีต่อระดับความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม 2. การศึกษานำร่อง ผลของการใช้ดนตรีเพื่อการจัดการความเครียดผ่านทางแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ 3. ผลของการใช้งาน PSYSAM แชทบอทสุขภาพจิตที่มีต่อภาวะอารมณ์ความรู้ของผู้ป่วยเอชไอวีรายใหม่ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์แห่งหนึ่ง 4. การศึกษาผลของการใช้งานแชทบอทในการให้สุขภาพจิตศึกษาด้านภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นผ่านระบบหุ่นยนต์โต้ตอบอัตโนมัติ 5. พัฒนาระบบหุ่นยนต์โต้ตอบอัตโนมัติราชานุกูล: สำหรับผู้ปกครองของเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า 6. พัฒนาระบบหุ่นยนต์โต้ตอบอัตโนมัติราชานุกูล: สำหรับผู้ปกครองเด็กที่มีความบกพร่องทางภาษาและการพูด จะเห็นได้ว่า โครงการแพลตฟอร์มกลางสำหรับการสร้างเครื่องมือช่วยเหลือทางจิตใจเพื่อยกระดับการให้บริการสุขภาพจิตด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์โต้ตอบอัตโนมัติในประเทศไทยด้วยปัญญาประดิษฐ์ มีส่วนอย่างมากในการพัฒนาการให้บริการสุขภาพจิตในหลากหลายรูปแบบและกลุ่มประชากร เอื้อต่อการวิจัย อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการบริการที่ยั่งยืนอีกด้วยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectสุขภาพจิตth_TH
dc.subjectMental Healthth_TH
dc.subjectPsychologicalth_TH
dc.subjectปัญญาประดิษฐ์th_TH
dc.subjectArtificial Intelligenceth_TH
dc.subjectโปรแกรมประยุกต์th_TH
dc.subjectApplication Softwareth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Service Systemth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectHealth Care Systemth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.titleแพลตฟอร์มกลางสำหรับการสร้างเครื่องมือช่วยเหลือทางจิตใจ เพื่อยกระดับการให้บริการสุขภาพจิตด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์โต้ตอบอัตโนมัติในประเทศไทยด้วยปัญญาประดิษฐ์th_TH
dc.title.alternativeAI Psychological Intervention Open Platform for Improving Mental Health Service Using Artificial Intelligent Conversation Agent in Thailandth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeAI mental health chatbots play a significant role in supporting mental health for various reasons such as accessibility, anonymity and privacy, reducing stigma, reducing workload of mental health professionals, providing early intervention, providing 24/7 support, providing guided self-help, supplementing human professionals, providing data and insights as well as being a cost-effective tool which has high scalability. Although being beneficial but developing AI mental health chatbots presents several challenges including mental health expertise and understanding as well as technical challenges. In this recent years, mental health setting across the country have showed interests in developing AI mental health chatbot to provide services to a particular population and issues. However, not only the two challenges mentioned above, developing an AI mental health chatbot requires manpower, budget, and it is time consuming. As a result, developing and employing AI mental health chatbot has not succeeded. This project aims to provide AI mental health chatbot creator for mental health professionals who do not have programming or coding skills to be able to develop their own AI mental health chatbot. With a drag-and-drop user interface, ready-to-use AI models for emotion and topic classification, a training program as well as multiple one-on-one mentoring sessions, this project has successfully help 26 mental health settings to develop and employ their own AI mental health chatbots. Withing this 18 months, apart from successfully developed the 26 chatbots that have reached more than 2000 users across the country, there are also 6 ongoing researches emerged from this projects which are; 1. The Effectiveness of Using Educational Intervention for Dementia Caregivers via LINE Chatbot on Stress, Anxiety and Depression by Psychology Department Neurological Institute of Thailand. 2. The Effects of Music Interventions for Stress Regulation in Daily Life via Artificial Intelligence Chatbot: A Pilot Study by Thailand Mental Health Technology and Innovation Center. 3. The Effectiveness of Using Educational Intervention for Dementia Caregivers via LINE Chatbot on Stress, Anxiety and Depression by Psychiatry Department, Ratchapiphat Hospital. 4. The study of using AI chatbot for psychoeducation in Depression among adolescents by Guidance Department, Assumption College. 5. The development of the Rajanukul Chatbot: for caregivers of children with delayed development by Research and Development Department, Rajanukul Insititute. 6. The development of the Rajanukul Chatbot: for caregivers of children with speech and language impairment by Medical Rehabilitation Department, Speech Therapy Unit Rajanukul Insititute. Based on the above outcome, it is shown that the AI Psychological Intervention Open Platform for Improving Mental Health Service Using Artificial Intelligent Conversation Agent in Thailand project has contributed to the improvement of mental health services to various populations. It supports psychological and mental health research as well as being a sustainable technology for Thailand.th_TH
dc.identifier.callnoWM105 ก286พ 2566
dc.identifier.contactno65-075
.custom.citationกลกรณ์ วงศ์ภาติกะเสรี, Konlakorn Wongpatikaseree, พณิดา โยมะบุตร, Panida Yomaboot, นริศ หนูหอม and Narit Hnoohom. "แพลตฟอร์มกลางสำหรับการสร้างเครื่องมือช่วยเหลือทางจิตใจ เพื่อยกระดับการให้บริการสุขภาพจิตด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์โต้ตอบอัตโนมัติในประเทศไทยด้วยปัญญาประดิษฐ์." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6138">http://hdl.handle.net/11228/6138</a>.
.custom.total_download5
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month5
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year5

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs3126.pdf
ขนาด: 4.326Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย