บทคัดย่อ
ความเป็นมาและความสำคัญ: ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy; HL) เป็นทักษะของบุคคลในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อตัดสินใจดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาสุขภาวะของประชากร วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับเขตสุขภาพและประเทศตามทักษะความรู้ด้านสุขภาพและบริบทที่จำเป็นต่อการมีสุขภาพที่ดีตลอดช่วงวัย 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและสังคมกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อระบุกลุ่มประชากรกลุ่มเสี่ยง 3) สร้างความตระหนักแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเรื่องอิทธิพลของความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความสำเร็จของการดำเนินงานสาธารณสุขในประเทศ วิธีการศึกษา: ใช้ข้อมูลจากโครงการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย พ.ศ. 2566 (ครั้งที่ 2) ซึ่งเป็นการสำรวจครัวเรือนด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบขั้นลำดับสามระดับ ในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน พ.ศ. 2566 มีกลุ่มตัวอย่างรวม 17,780 ราย ด้วยเครื่องมือแบบสำรวจ HLS-TH-Q17 จำนวน 17 ข้อคำถาม ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมและการระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติวิเคราะห์ และการจัดเวทีคืนข้อมูลเพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้และการฝึกใช้ข้อมูลการสำรวจสำหรับวางแผนและพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ผลการศึกษา: ร้อยละ 80.9 ของประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มี HL ที่เพียงพอ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละเขตสุขภาพ (ร้อยละ 59.4 ถึง 96.8) ประเด็น “ผลิตภัณฑ์ยาและสุขภาพ” “การดูแลรักษากรณีฉุกเฉิน” และ “สุขภาพช่องปาก” เป็นประเด็นที่ได้คะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด (2.95-2.99 คะแนน จากคะแนนเต็ม 4 คะแนน) ขณะที่ “การใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจ” เป็นทักษะ HL ของคนไทยที่ได้คะแนนค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (3.03 คะแนน) ทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและสังคมกับความรอบรู้ด้านสุขภาพนั้น พบว่ากลุ่มเสี่ยงของผู้ที่มี HL ไม่เพียงพอ ได้แก่ ผู้ที่มีข้อจำกัดของการเข้าถึงข้อมูลรวมถึงการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ผู้ที่มีข้อจำกัดในการอ่าน ผู้ที่มีรายได้ไม่เพียงพอหรือขัดสน ผู้ที่ไม่ได้เข้าเรียน ผู้ที่อยู่ในเขตเทศบาล มีการรายงานสถานะสุขภาพของตนเองว่าแย่-แย่มาก การมีความพิการหรือข้อจำกัดในการดำรงชีวิตด้านใดด้านหนึ่ง การมีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรคใดโรคหนึ่ง ผู้ที่ไม่ได้รับการจ้างงาน และผู้สูงอายุ สำหรับความตระหนักเรื่องอิทธิพลของความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความสำเร็จของการดำเนินงานสาธารณสุขในประเทศนั้น พบว่า เจ้าหน้าที่จากกรมอนามัยทั้งจากส่วนกลางและจากศูนย์อนามัยที่ 1 – 12 และสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 37 จังหวัด กรมต่าง ๆ จากกระทรวงสาธารณสุข และผู้แทนจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวม 88 คน เข้าร่วมรับฟังแนวทางการใช้ประโยชน์จากข้อมูล และได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับเขตสุขภาพ (policy brief) จำนวน 13 ข้อเสนอด้วยกัน โดยส่วนใหญ่มุ่งเน้นการยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุในมิติของการเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ ด้วยการปรับรูปแบบ ช่องทาง และวิธีการสื่อสารข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อบุคคลมากขึ้น เช่น นักอาสารอบรู้ชุมชน อสม. เป็นต้น สรุปผลการศึกษา: ในปี พ.ศ. 2566 พบประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ร้อยละ 80.9 มี HL ที่เพียงพอ นอกจากนี้ ปัจจัยด้านประชากร เศรษฐกิจสังคม และด้านสุขภาพ สัมพันธ์กับระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการคืนข้อมูลให้กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและฝึกการใช้ข้อมูลการสำรวจฯ ช่วยให้เกิดความตระหนัก อีกทั้งเจ้าหน้าที่สามารถนำผลการศึกษาไปพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ตนเองมากขึ้น ข้อเสนอแนะ: 1) พัฒนานโยบายและมาตรการส่งเสริม HL แบบบูรณาการ โดยเน้นกลุ่มเสี่ยง 2) ปรับปรุงระบบข้อมูลสุขภาพให้เข้าถึงง่ายและเข้าใจง่าย 3) สร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนา HL 4) เพิ่มการให้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาและสุขภาพ การดูแลรักษากรณีฉุกเฉิน และสุขภาพช่องปาก 5) พัฒนาโปรแกรมเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงที่มี HL ต่ำ
บทคัดย่อ
Background: Health Literacy (HL) is a crucial skill for individuals to access, understand, and use
health information to make appropriate health decisions, which is essential for improving
population health outcomes.
Objectives: This study aimed to 1) assess the current HL situation among Thai people aged 15
and above, 2) analyze factors influencing HL to identify at -risk population groups,
and 3) raise awareness among relevant stakeholders on the influence of health literacy on the
effectiveness of the implementation of public health interventions.
Methods: Data from the 2nd National Health Literacy Survey of Thai Population Aged 15 Years
and Above (2023) was used, along with literature review and expert consultations. The survey
employed a three-stage stratified sampling method, with a sample size of 17,780 respondents.
The HLS-TH-Q17 questionnaire was used as the survey instrument. Descriptive and analytical
statistics were utilized for data analysis. A stakeholder meeting was organized to raise
awareness among relevant stakeholders and simulate the use of the survey findings for
planning and improving health promotion and prevention interventions.
Results: 80.9% of Thai people aged 15 and above had adequate HL, with significant variations
across health regions (59.4% to 96.8%). "Pharmaceutical and health products," "Emergency
care," and "Oral health" were the lowest-scoring health system topics (2.95 – 2.99 points of 4
points). "Using information for decision-making" was the lowest-scoring HL skill (3.03 points).
At-risk groups for inadequate HL included those with limited access to information, low
income, no formal education, poor self-reported health status, chronic diseases,
unemployment, and the elderly. Awareness was raised among 88 representatives from the
department of health, ministry of public health, provincial health offices, the ministry of social
development and human security, the ministry of labour, the ministry of education, and the
ministry of digital economy and society. 13 policy briefs were produced to improve health
literacy in relevant settings. Elderly people were the most mentioned targets for health literacy
improvements focusing on the ability to access reliable health information through health
volunteers.
Conclusion: in 2023, 80.9 percent of aged 15 years and above Thai population had adequate
health literacy. Demographic, socio-economic, and health related factors were associated with
health literacy. Stakeholder meetings could help raise awareness and the use of the survey
findings for developing area – specific policies.
Recommendations: 1) Focus on those with risk factors when developing policies and
interventions to improve health literacy through multidisciplinary approaches, 2) improve
simplicity and understandability of existing health information, 3) enhance collaborations
among relevant stakeholders, 4) improve knowledge and skills needed for use of health
related products and medicine, emergency services, and oral health services, 5) develop
population at risk specific programs to improve health literacy.