• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

จริยธรรมกับการวิจัยในมนุษย์

จรวยพร ศรีศศลักษณ์; Jaruayporn Srisasalux;
วันที่: 2551
บทคัดย่อ
ในอดีตเคยมีการใช้มนุษย์เป็นหนูทดลองยา และวัคซีนหลายชนิด โดยไม่มีหลักประกันและความคุ้มครองสิทธิที่เหมาะสมให้แก่บุคคลที่นำมาศึกษา วิจัย และทดลองทางการแพทย์และสาธารณสุข. ผู้คนในสังคมทั่วไปหรือแม้แต่ผู้ป่วยจึงกลายเป็นหนูทดลองยาโดยไม่รู้ตัวและยังส่งผลกระทบข้างเคียงให้กับร่างกาย หรือเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยอีกด้วย. อย่างไรก็ตาม การวิจัยในมนุษย์เป็นกิจกรรมที่สำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะในด้านการแพทย์และสาธารณสุข เป็นหนทางของการได้มาซึ่งความรู้ที่น่าเชื่อถือในเรื่องธรรมชาติของร่างกายมนุษย์ การเกิดโรค การแพร่ระบาดของโรคและการหายจากโรค ตลอดจนการพัฒนาวิธีการวินิจฉัยโรค การรักษา ป้องกัน ส่งเสริม ฟื้นฟู รวมทั้งการพัฒนายาและวัคซีนต่างๆ. นอกจากนี้การวิจัยที่แม้จะไม่มีการกระทำต่อร่างกายของมนุษย์โดยตรง แต่จะต้องสอบถามข้อมูลที่จะก้าวล่วงเข้าไปในเรื่องส่วนบุคคลก็ถือเป็นการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ด้วยเช่นกัน หากแต่การศึกษาวิจัย และทดลองทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะในมนุษย์ที่ผ่านมานั้น บางครั้งอาจละเลยด้านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ อันนำมาซึ่งปัญหามากมายต่อการพัฒนางานวิจัย และก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้คนในสังคม ต่อระบบสาธารณสุข และวงการแพทย์อย่างคาดไม่ถึง การวิจัยในมนุษย์ในประเทศไทยควรได้รับการกำกับดูแลด้านจริยธรรมอย่างมีคุณภาพมาตรฐานและต่อเนื่อง นับตั้งแต่ก่อนเริ่มดำเนินการวิจัย ระหว่างดำเนินการวิจัย และหลังเสร็จสิ้นการวิจัย โดยอาสาสมัครได้รับการคุ้มครองดูแลป้องกันทั้งทางด้านศักดิ์ศรี สิทธิ ความปลอดภัยของอาสาสมัคร/ผู้เข้าร่วมในโครงการวิจัยอย่างถูกต้องและความเป็นอยู่ที่ดี เหมาะสมตามหลักจริยธรรมสากลว่าด้วยการวิจัยในมนุษย์ รวมถึงการส่งเสริมให้การวิจัยในมนุษย์เป็นไปตามหลักจริยธรรมการวิจัยอย่างมีคุณภาพ
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v2n3 ...
ขนาด: 87.42Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 1
ปีงบประมาณนี้: 66
ปีพุทธศักราชนี้: 34
รวมทั้งหมด: 691
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV