• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การประเมินสมรรถนะบุคลากรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่

รัฐวุฒิ สุขมี; Rathavuth Sukme;
วันที่: 2551
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินสมรรถนะบุคลากรในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ กับความคาดหวังขององค์กร และหาส่วนต่างของสมรรถนะของบุคลากรที่ต้องพัฒนา ตลอดจนเปรียบเทียบผลการประเมินโดยตนเอง เทียบกับการประเมินโดยเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และคณะกรรมการประเมินสมรรถนะ กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ใช้วิธีการสัมภาษณ์โดยเลือกแบบบังเอิญ ในช่วงเวลาที่คณะกรรมการประเมินสมรรถนะเข้าไปเก็บข้อมูลเป็นระยะๆ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2550 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบประเมินสมรรถนะบุคลากร ซึ่งคณะกรรมการจัดทำขึ้นตามแนวทางการประเมินบุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ อันประกอบด้วยสมรรถนะ 8 ด้าน การศึกษา สามารถเก็บสมรรถนะบุคลากรได้ 147 คนคิดเป็นร้อยละ 94.2 ของบุคลากรทั้งหมด และพบว่า กลุ่มรองสาธารณสุขจังหวัด มีสมรรถนะด้านการพัฒนาศักยภาพต่ำกว่าที่องค์กรคาดหวัง กลุ่มผู้ช่วยสาธารณสุขจังหวัด หัวหน้ากลุ่มงาน และหัวหน้างาน/นักวิชาการ ทั้ง 3 กลุ่มนี้ มีสมรรถนะด้านจริยธรรม การคิดแบบองค์รวม และการทำงานเชิงรุกต่ำกว่าเป้าหมาย สำหรับกลุ่มเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการมีสมรรถนะการทำงานเชิงรุกต่ำกว่าเป้าหมาย ผลการประเมินสมรรถนะของบุคลากรโดยรวมพบว่า การประเมินด้วยตนเองมีคะแนนเฉลี่ยใกล้เคียงกับผลประเมินของคณะกรรมการ ผลการประเมินสมรรถนะของบุคลากรครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคลต่อไป

บทคัดย่อ
This research encompassed two objectives: (1) to assess the competencies of the personnel of the Chiang Mai Provincial Health Office and compare these acquired competencies with expected competencies of the organization; and (2) to compare results of competency assessment by self-assessment with the results of assessment by peers, by heads of sections and by the Competency Assessment Committee. The target group comprised personnel of the Chiang Mai Provincial Health Office. Respondents were recruited by the accidental sampling method during the days that the Committee collected data (between October 1, 2006 and March 31, 2007). The research tool was the competency assessment form adapted from the competency assessment guideline of the Public Sector Development Commission, which comprised eight dimensions. Data were collected from 147 respondents (94.2 % of the total staff). Results showed that: (1) in the deputy director group, the underdeveloped dimension was mentoring for personnel development; (2) in the assistant director group, heads of clusters and heads of sections/technical experts, the underdeveloped dimensions were ethical issues, holistic thinking and proactive management; (3) in the technical operator group, the underdeveloped dimension was proactive management; and (4) from the overall competency scores, the self-assessment produced similar scores to those assess by the Committee. These findings will be useful for formulating individual development plans.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v2n3 ...
ขนาด: 185.2Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 72
ปีพุทธศักราชนี้: 47
รวมทั้งหมด: 1,203
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1372]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [620]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1290]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [232]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV