บทคัดย่อ
คลินิกหมอครอบครัวเป็นนโยบายที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุขในการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทย การรับรู้ของผู้บริหารโรงพยาบาลและผู้ปฏิบัติงานปฐมภูมิภายใต้นโยบายนี้มีความสำคัญต่อการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ทำให้ผู้บริหารทราบข้อมูลย้อนกลับจากการรับรู้ของผู้ปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ กำหนดเป้าหมายและทิศทางของนโยบายสู่การพัฒนาคุณภาพระบบสุขภาพปฐมภูมิในประเทศต่อไป งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้บริหารโรงพยาบาลและผู้ปฏิบัติงานปฐมภูมิที่มีต่อนโยบายคลินิกหมอครอบครัว ในด้านความเข้าใจ ความรู้สึก ความคาดหวัง ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารโรงพยาบาล แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักกายภาพบำบัด จำนวน 46 คน ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และให้บริการปฐมภูมิภายใต้นโยบายคลินิกหมอครอบครัว ระเบียบวิธีศึกษา ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์โดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา ควบคุมคุณภาพของการวิจัยโดยใช้วิธีการตรวจสอบสามเส้า ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้นโยบายของผู้บริหารโรงพยาบาลและผู้ปฏิบัติงานปฐมภูมิมาจากการประชุมถ่ายทอดนโยบายเป็นหลัก ซึ่งเป็นการสื่อสารทางเดียว ทำให้มีความเข้าใจนโยบายที่แตกต่างกัน แต่มีความรู้สึกดีต่อนโยบายเนื่องจากเป็นนโยบายที่ให้ความสำคัญกับการบริการปฐมภูมิ และส่งผลดีต่อประชาชน เปรียบเสมือนเป็น “ยุคทองของเวชศาสตร์ครอบครัว” แต่รู้สึกเครียดและสับสนจากการเปลี่ยนชื่อนโยบายและมีตัวชี้วัดพร้อมภาระงานข้อมูลเอกสารเพิ่มขึ้น ในขณะที่การดำเนินงานไม่ได้แตกต่างกับนโยบายทีมหมอครอบครัว (family care team: FCT) เดิม ทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานปฐมภูมิมีความต้องการให้นโยบายนี้ดำเนินต่อไป รวมถึงต้องการการสนับสนุน ขวัญกำลังใจ และการให้เวลาจากผู้กำหนดนโยบายและผู้บริหาร ดังนั้น การสร้างการรับรู้ของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานปฐมภูมิต่อนโยบายคลินิกหมอครอบครัวเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งจะส่งผลต่อความเข้าใจ ความรู้สึก ความต้องการ ความคาดหวัง และนำไปสู่การปฏิบัติตรงตามวัตถุประสงค์ของนโยบาย จึงควรให้ความสำคัญกับกระบวนการสื่อสารนโยบายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ
บทคัดย่อ
Primary care cluster (PCC) is the public health policy of Ministry of Public Health for improvement in primary care. Perceptions of hospital administrators and primary care practitioners on primary care cluster policy are very important for applying policy to practices. Policy makers can know the feedback information from the practices of the practitioners for making decision, determination and direction of public health policy. The aim of this study was to explore and explain the perception of hospital admin¬istrators and primary care practitioners on primary care cluster policy focusing on their understandings, feelings, expectations, obstacles and suggestions. A qualitative study was conducted at primary care units (PCU) of Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Using purposive sampling strategy, hospital administrators, family doctors, dentists, pharmacists, family nurses, physiotherapists were chosen. Focus group discussions and in-depth interviews were conducted to gather data. Content analysis and thematic analysis were employed. Triangulation was used to ensure the rigor of the study. The results showed that the percep¬tions of hospital administrators and primary care practitioners were mostly built up from the messages delivered during official meetings. Their understandings were quite different, but in general, they had good feelings towards this policy because the purpose was to improve health of the people and increased value of the family doctors, so-called “the golden period of family doctor”. In addition to their previous practices, in terms of family care team (FCT), they also felt under pressure with more coming new health indicators from this new policy. From their expectations, they felt strongly agree to continue this policy and with moral and time supports from the policy makers and hospital administrators. Therefore, the organizational communications for effective policy understandings, feelings, expectations among hospital administrators and primary care practitioners are essential.