บทคัดย่อ
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว อำเภอคำชะอี ได้ออกดำเนินการสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษ ในหมู่ที่ 2 ตำบลคำบก อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค ศึกษาทางวิทยาการระบาดของโรค ตามบุคคล เวลา สถานที่ และหาแนวทางในการควบคุมป้องกันการแพร่กระจายของโรค วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาวิทยาการระบาดเชิงพรรณนาโดยการสอบสวนโรค ผลการศึกษาพบผู้ป่วย 9 รายอาศัยอยู่ในบ้าน 2 หลังคาเรือน เป็นชาย 4 ราย หญิง 5 ราย (อัตราส่วนชายต่อหญิง เท่ากับ 1:1.25) อายุ 13-83 ปี เฉลี่ย 38 ปี ลักษณะเวชกรรม ได้แก่ ปวดท้องร้อยละ 100 ปวดศีรษะร้อยละ 88.88 ไข้ร้อยละ 88.88 ถ่ายเป็นน้ำร้อยละ 77.78 ผู้ป่วย 2 รายจากบ้านเดียวกันต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล คิดเป็นร้อยละ 22.22 ผู้ป่วยที่มีอาการรายแรกเริ่มมีอาการหลังกินอาหารเย็นประมาณ 6 ชม. ขณะที่รายสุดท้ายเริ่มมีอาการหลังกินอาหารเย็นประมาณ 29 ชม. ซึ่งแสดงถึงระยะฟักตัวของโรคกินเวลา 6-29 ชม. อาหารที่ผู้ป่วยกินร่วมกันและเป็นสมมติฐานของการก่อโรคคือ ก้อยไข้มดแดง ซึ่งจากการนำไข่มดแดงที่เหลือไปเพาะเชื้อพบ Salmonella serogroup B สอดคล้องกับผลการตรวจเพาะเชื้อจากป้ายไส้ตรงผู้ป่วยทั้ง 9 ราย ซึ่งพบ Salmonella serogroup B เหมือนกัน จากการสอบสวนยังพบปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมห้องครัว ห้องน้ำ ของบ้านทั้ง 2 หลังคาเรือน หลังจากได้ดำเนินการควบคุมป้องกันและเฝ้าระวังโรคเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่
บทคัดย่อ
An investigation of a food poisoning outbreak in Moo 2 Village of Kambok subdistrict,
Khamcha-ee district, Mukdahan Province was carried out to confirm the diagnosis,
verify the outbreak and to determine the etiology in order to control the outbreak. The
descriptive study was conducted on seven outpatients and two hospitalized patients who
were diagnosed at Khamcha-ee Hospital on 26 February 2008. All nine patients involved
lived in two separated houses; their ages varied from 13 to 83 years, with the median age
being 38 years. The clinical features were abdominal pain (100%), headache (88.88%),
fever (88.88%), and diarrhea (77.78%). The incubation periods varied from 6 to 29 hours. The food suspected of causing the particular illness was koi (raw red-ants eggs), a kind of
native salad. Salmonella serogroup B was identified from the raw ant eggs in question,
and rectal swab cultures of all patients. This outbreak was most likely caused by Salmonella
serogroup B, based on the clinical features, incubation periods and the laboratory
findings. Health education was given to food handlers in Moo 2 village. The investigation
disclosed possible evidence of risk factors of poor sanitation and poor hygiene in the
kitchens and toilets. Active surveillance was maintained in the affected area for one week
without the emergence of new cases.